"แพะรับบาป" พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
ได้อธิบายว่า
เป็นสำนวน
ซึ่งหมายถึงคนที่รับเคราะห์กรรมแทนผู้อื่นที่ทำกรรมนั้น
ส่วนที่มาของสำนวนนี้ พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พิมพ์ครั้งที่ ๒ (แก้ไขเพิ่มเติม) ได้ระบุไว้
ดังนี้
ที่มาของคำว่า แพะรับบาป นี้
ปรากฏในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม
ซึ่งเป็นคัมภีร์ของชาวอิสราเอลผู้มีภูมิหลังเป็นผู้มีอาชีพเลี้ยงแพะ
เลี้ยงแกะ
แพะรับบาปเป็นพิธีปฏิบัติในวันลบบาปประจำปีของชาวอิสราเอล
ซึ่งเริ่มต้นด้วยปุโรหิตถวายวัวเป็นเครื่องบูชาไถ่บาปของตนเองและครอบครัว
เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ปุโรหิตจะนำแพะ ๒
ตัวไปถวายพระเป็นเจ้าที่ประตูเต็นท์นัดพบ
และจับสลากเลือกแพะ ๒ ตัวนั้น
สลากที่ ๑
เป็นสลากสำหรับแพะที่ถวายพระเป็นเจ้า อีกสลากหนึ่งเป็นสลากสำหรับแพะรับบาป
หากสลากแรกตกแก่แพะตัวใด
แพะตัวนั้นจะถูกฆ่าและถวายเป็นเครื่องบูชา
เพื่อไถ่บาปของประชาชน เรียกว่า
"แพะรับบาป"
ส่วนสลากที่ ๒ หากตกแก่แพะตัวใด
แพะตัวนั้นเรียกว่า "แพะรับบาป"
ซึ่งปุโรหิตจะถวายพระเป็นเจ้าทั้งยังมีชีวิตอยู่
แล้วใช้ทำพิธีลบบาปของประชาชน โดยยกบาปให้ตกที่แพะตัวนั้น
เสร็จแล้วก็จะปล่อยแพะตัวนั้นให้นำบาปเข้าไปในป่าลึกจนแพะและบาปไม่สามารถกลับมาอีก
ส่วนในศาสนาฮินดู เซอร์มอเนียร์ วิลเลียมส์
สันนิษฐานว่า
การฆ่ามนุษย์บูชายัญคงไม่เป็นที่ถูกอัธยาศัยพื้นฐานของพวกอารยัน
คัมภีร์พราหมณะจึงอธิบายว่าเทวดาฆ่ามนุษย์
ส่วนที่เหมาะสมจะใช้บูชายัญก็ออกไปจากมนุษย์เข้าสู่ร่างม้า
ม้าจึงกลายเป็นสัตว์ที่เหมาะสมจะใช้บูชายัญ
เมื่อฆ่าม้า
ส่วนที่เหมาะสมจะใช้บูชาก็ออกจากม้าไปเข้าร่างโค
เมื่อฆ่าโค
ส่วนที่เหมาะสมจะใช้บูชาก็ออกจากโคไปสู่แกะ จากแกะไปแพะ
ส่วนที่เหมาะสมจะใช้บูชา
คงอยู่ในตัวแพะนานที่สุด
แพะจึงกลายเป็นสัตว์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับใช้ฆ่าบูชายัญ
ที่มา
http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?Search=1&ID=2114
เวปไซต์ราชบััณฑิตยสถาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น